ตามประวัติบันทึกไว้ ประเพณีวันเข้าพรรษามีระบุไว้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เกี่ยวกับการทำบุญวันเข้าพรรษาของพระมหากษัตริย์ และประชาชน เกี่ยวกับการถวายผ้าอาบน้ำฝนและถวายเทียนพรรษา
การเข้าพรรษาตามพระวินัย มี 2 แบบ ได้แก่
- เข้าพรรษาตามปกติ เรียกว่า “ปุริมพรรษา” - เริ่ม แรม 1 ค่ำ เดือน 8 หากมีเดือน 8 สองหนก็จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็จะมีสิทธิ์รับกฐิน
- เข้าพรรษาหลัง เรียกว่า ปัจฉิมพรรษา - เริ่ม แรม 1 ค่ำ เดือน 9 และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ในกรณีที่พระภิกษุติดกิจต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัยให้ไม่สามารถเข้าพรรษาในรอบแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ได้
กรณีพระภิกษุต้องออกไปจำพรรษาที่อื่น สามารถขออนุญาตทำได้ เรียกว่า “สัตตาหกรณียะ” และต้องกลับมาภายใน 7 วัน เพื่อไม่ให้พรรษาขาด ไม่ถือว่าอาบัติ ได้แก่
- พระภิกษุต้องดูแลบิดามารดาที่เจ็บป่วย
- ทำสังฆกรรม อาทิ จัดหาอุปกรณ์ซ่อมกุฏิที่ชำรุด
- ทายกนิมนต์ให้ไปทำบุญค้างคืน
ความสำคัญวันเข้าพรรษา
ในวันเข้าพรรษาที่มักตรงกับฤดูการเกษตรนี้ชาวบ้านจะปลูกพืชผล และภิกษุสงฆ์จะจำวัดเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ส่วนพุทธศาสนิกชนก็ร่วมบำเพ็ญกุศล ตักบาตร ถวายเทียนพรรษา รักษาศีล โดยความสำคัญของวันเข้าพรรษามี 5 ข้อ ดังนี้
- พืชผลที่ชาวบ้านปลูกเป็นต้นกล้า จะได้เติบโตแข็งแรงไม่ถูกทำลายจากกรณีกิจของพระสงฆ์ที่ต้องเดินทางรับกิจนิมนต์
- ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อนจากการเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- พระภิกษุสงฆ์จะได้ฝึกปฏิบัติธรรมสำหรับตนเองเพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรม
- บวชเรียนบุตรหลานที่ถึงวัยบวช หรือบรรพชา เพื่อเป็นกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
- เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้บำเพ็ญกุศล ถือศีล เจริญภาวนา ฟังเทศน์ ถวายเทียนพรรษา และถวายผ้าอาบน้ำฝน
พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาจนครบ จะได้สิทธิ์ยกเว้นพระวินัย 5 ข้อ ดังนี้
1. เที่ยวเดินทางออกจากวัดโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าอาวาสหรือพระสงฆ์รูปอื่นได้
2. เที่ยวเดินทางได้โดยไม่ต้องถือจีวรครบ 3 ผืน
3. ฉันล้อมวงแบบคณะโภชน์ได้
4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
5. เก็บจีวรเมื่อมีผู้มาถวายได้ หากเกินกว่าไตรครอง โดยไม่ต้องสละเข้ากองกลาง
กิจกรรมวันเข้าพรรษา
เมื่อใกล้ถึงวันเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์ในอาวาสต่างๆ จะเตรียมตัวซ่อมแซมบูรณะวัดให้พร้อมแก่การจำพรรษา เจ้าอาวาสจะเป็นผู้ประกาศ “วัสสูปนายิกา” เกี่ยวกับการเข้าพรรษาไว้อย่างชัดเจน และหลังจากจบประกาศแล้วก็จะมีการขอขมาลาโทษกันเพื่อให้พระสงฆ์ในวัดมีความสามัคคีกัน
การเริ่มต้นจำวัดเข้าพรรษา พระสงฆ์สามเณร จะกล่าวคำอธิษฐานพร้อมกันว่า
อิมสฺมิ˚ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปม
พุทธศาสนิกชนนิยมเดินทางไปวัดเพื่อช่วยทำความสะอาด บูรณะสถานที่ต่างๆ ในวัดเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พระภิกษุสงฆ์ที่จะอยู่จำพรรษา รวมถึงเตรียมตัวเพื่อถวายทานอื่น ๆ อาทิ
- บวชบุตรหลานที่อายุถึงวัยบรรพชา
- ถวายผ้าอาบน้ำฝน
- ถวายเทียนพรรษา
- ถวายหลอดไฟ
- ตักบาตร
การถวายเทียนพรรษา
การถวายเทียนพรรษาในประเทศไทย มักนิยมทำมาแต่โบราณ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์และสามเณร ได้มีแสงสว่างใช้อ่านคัมภีร์ ศึกษาพระธรรม แต่เนื่องจากปัจจุบันนี้มีไฟฟ้าใช้แล้ว ก็นิยมถวายหลอดไฟเพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งานมากขึ้น
นอกจากกิจกรรมภายในวัดแล้ว ทางรัฐบาลได้ประกาศห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และมีแคมเปญรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาจาก สสส. เป็นกิจกรรมที่นิยมงดดื่มสุราเป็นระยะเวลา 3 เดือน ที่ร่วมทำกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) เพื่อให้ประชาชนหันมาดูแลตับ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ซึ่งการงดเหล้าเป็นส่วนหนึ่งของการถือศีล 5 ด้วย กิจกรรมงดเหล้าจึงสอดคล้องกับหลักธรรม พุทธศาสนิกชนจึงนิยมปฏิบัติงดเหล้าอย่างเคร่งครัด
ที่มา : กรมศาสนา
"ที่มา" - Google News
July 06, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/31Occvu
"วันเข้าพรรษา" ประวัติที่มา ความสำคัญ วันเข้าพรรษา 2563 - ไทยรัฐ
"ที่มา" - Google News
https://ift.tt/2ZXuIAi
No comments:
Post a Comment