ย้อนไปเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีการพิจารณาวาระ "เพื่อพิจารณาจร" เรื่องที่ เครือข่ายภาคประชาชนเสนอรัฐบาลให้วันเข้าพรรษาเป็น วันงดดื่มสุราแห่งชาติ ซึ่งก่อนหน้านั้นเครือข่ายภาคประชาชนได้ทำหนังสือลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ถึง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นให้พิจารณาเรื่องนี้
โดยเอกสารครม.ระบุว่า ด้วยเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 เวลา 10.00 น. เครือข่ายภาคประชาชน นําโดย นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อํานวยการสํานักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอความอนุเคราะห์เสนอครม. ให้พิจารณากําหนดให้ “วันเข้าพรรษา” เป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ด้วยเหตุผล ดังนี้
1. สังคมไทยมีวัฒนธรรมอันดีงามจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เมื่อถึงช่วงเวลา เข้าพรรษาตลอด 3เดือน จะตั้งสัจจะอธิษฐาน ลดละเลิกเหล้า เป็นการรักษาศีล 5 และ จากการที่สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และองค์ภาคีได้รณรงค์โครงการงดเหล้าเข้าพรรษามาตั้งแต่ปี 2546 พบว่ามี ผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้นถึงจากปกติที่เคยมีผู้งดเหล้าเข้าพรรษาร้อยละ 15 เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 40-50 โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลําดับ ซึ่งหากรัฐบาลรับรองให้มี “วันงด ดื่มสุราแห่งชาติ” ยิ่งเป็นการสนับสนุนธรรมเนียมปฏิบัติที่ดีงามนี้ให้ดียิ่งขึ้น
2. จากการสํารวจความคิดเห็นโดยสํานักวิจัยเอแบคโพลล์ ปี 2549 พบว่า ประชาชนร้อยละ 88.6 เห็นด้วยกับการกําหนดให้มี “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” 1 วันต่อปี และเห็นว่า “วันเข้าพรรษา” ควรเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ร้อยละ 61.6
3. การประกาศเป็นนโยบาย (มติคณะรัฐมนตรี) จะทําให้ความร่วมมือ ในการรณรงค์ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกระทรวงทางสังคม และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงวัฒนธรรม และสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นต้น
และหลังจากคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบในวันนั้น ก็ทำให้ วันเข้าพรรษา ของทุกปี เป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
"ที่มา" - Google News
July 03, 2020 at 05:35PM
https://ift.tt/38u6Dn8
ย้อนรอย "วันเข้าพรรษา" ที่มา "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" - ฐานเศรษฐกิจ
"ที่มา" - Google News
https://ift.tt/2ZXuIAi
No comments:
Post a Comment