28 สิงหาคม 2563
34
“อภิรัชต์” โต้ข่าวลือรัฐประหาร เตรียมแถลงผลงานก่อนทิ้งทวนตำแหน่ง ผบ.ทบ. ด้านนายกฯโยนสภา รื้อที่มา ส.ว. แนะเทียบอดีต-ปัจจุบัน ขณะที่เพื่อไทยแถลงจุดยืนแก้ รธน. แจงหัก “ก้าวไกล” ไม่รื้อที่มา ส.ว. เหตุอยู่ในวิสัยที่หารือกันได้
จากสถานการณ์การเมืองที่เริ่มครุกรุ่น ท่ามกลางข่าวลือเกี่ยวกับการเตรียมการรัฐประหารที่ปรากฏออกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด มีคำยืนยันมาจาก พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวภายหลังประธานพิธีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเปิดบก.ทบ. ครบรอบปีที่ 34 ถึงการปล่อยข่าวลือกระแสการรัฐประหารว่า สื่อเองยังพูดว่าข่าวลือเลย
เมื่อถามย้ำว่า แต่อยากได้ยินจากปาก ผบ.ทบ.เอง พล.อ.อภิรัชต์ กล่าวว่า “นักข่าวยังพูดว่าข่าวลือ” เมื่อถามอีกว่าจะไม่เกิดขึ้นใช่หรือไม่ พล.อ.อภิรัชต์ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามและเดินขึ้นห้องทำงานทันที
ส่วนการแถลงผลงานก่อนเกษียณอายุราชการในเดือนก.ย.คงเป็นเดือนหน้า เพราะจะมีการประชุมหน่วยขึ้นตรงกองทัพบกระดับผู้บังคับกองพันขึ้นไป ซึ่งตนจะพูดภาพรวมทั้งหมด เพราะทุกคนก็ทำงาน ไม่ใช่ตนทำคนเดียว ส่วนเรื่องการปฏิรูปกองทัพที่ผ่านมาตนก็ได้มีการไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 แล้ว โดยได้ตอบหมดทุกเรื่อง
ส่วนความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวว่าเรื่องนี้เคยพูดไปแล้วก็เป็นเรื่องของพรรคร่วมรัฐบาลแต่ละพรรคต่างคนต่างทำ แต่อย่าลืมว่าขั้นตอนของกฎหมายว่าอย่างไรแต่เมื่อยังไม่มีรัฐธรรมนูญใหม่ก็ต้องใช้รัฐธรรมนูญเก่าไปดูจะแก้กันอย่างไรถ้ามันแก้ผิดวิธีมันก็วุ่นไม่เลิก
แนะเทียบโมเดลส.ว.อดีต-ปัจจุบัน
สำหรับข้อเสนอแก้ไขอำนาจสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) เป็นเรื่องของพรรคร่วมรัฐบาล ส่วนความจำเป็นของส.ว.นั้นในส่วนของอำนาจที่มีการเรียกร้องกันอยู่ในขณะนี้ก็ต้องหารือกัน ไม่มีใครอยากโดนว่าหรือถูกตำหนิเพราะทุกคนก็ตั้งใจทำงานแล้วบ้านเมืองมีความสงบสุขหรือไม่ขอให้ไปดูตรงนั้นที่ผ่านมาเคยมีส.ว.อีกประเภทหนึ่งแล้วเป็นอย่างไรลองเปรียบเทียบดูอย่ามองประเด็นเดียวว่าเขาสนับสนุนให้ตนเป็นนายกฯประเด็นอื่นก็มีอีกเยอะ
ส่วนกรณีกลุ่มไทยภักดีนัดชุมนุมแสดงพลังเพื่อปกป้องประเทศและสนับสนุนรัฐบาลที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครในวันที่30ส.ค.นั้นการชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลตนไปห้ามใครไม่ได้เ ก็ต้องดูว่าใครทำผิดกฎหมายบ้างถ้าผิดกฎหมายก็ต้องถูกดำเนินการ
กมธ.ศึกษาแก้รธน.ชงสภา31ส.ค.
ส่วนนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการประชุมว่า ขณะนี้รายงานของกมธ. เสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าวันจันทร์ที่ 31 ส.ค.จะยื่นรายงานต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ทั้งนี้รายงานไม่ได้เป็นลักษณะข้อสรุป เพราะกมธ.ชุดนี้ทำการศึกษาพิจารณาทั้งข้อดีข้อเสียและแง่มุมต่างๆ รายงานของกมธ. ไม่ได้มีแต่เรื่องการเมืองและการเลือกตั้ง แต่หัวใจรัฐธรรมนูญคือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ส่วนเรื่องอำนาจส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรีที่หลายพรรคเห็นตรงกันว่าควรยกเลิก ในรายงานมีความเห็นหลานด้าน แต่กมธ.จะมีการใส่หลักการและเหตุผลในรายงาน คนที่เอาไปศึกษาจะได้เห็นเหตุผลและพิจารณาอีกทีหนึ่ง ย้ำว่าในรายงานไม่ได้มีบอกว่าเห็นด้วยหรือไม่ได้เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ ตามระบบ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้ว ก็จะส่งรายงานฉบับนี้ไปที่รัฐบาล โดยหลักการรัฐบาลก็ควรที่จะต้องเอารายงานนี้ไปศึกษาประกอบด้วย แต่ในทางปฏิบัติจริงๆ ก็อยู่ที่ผู้ที่จะมาทำหน้าที่ต่อไป ว่าจะให้ความสำคัญกับรายงานของกมธ. แค่ไหน ซึ่งก็ไม่ได้มีบทบังคับไว้
พท.เชื่อ120วันได้รธน.ฉบับใหม่
นพ.ชลน่าน ศรีแก้วส.ส.น่าน รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร บรรจุญัตติของ5พรรคร่วมฝ่ายค้านที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่วาระการประชุมภายในวันที่30ส.ค.นี้ว่าถือเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะได้มาพูดคุยกันในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรแต่การดำเนินการดังกล่าวอยากให้นายชวนเปิดประชุมรัฐสภาเพื่อหารือให้ได้ข้อยุติจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด
“การเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ควรเปิดให้ประชาชนสามารถเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเขียน กฎหมายสูงสุดของประเทศเชื่อว่าภายใน120วันจะได้รัฐธรรมนูญใหม่หากรัฐบาลไม่ประวิงเวลาเชื่อว่าภายใน6เดือนได้รัฐธรรมนูญใหม่แน่นอนส่วนหลังจากได้รัฐธรรมนูญใหม่รัฐบาลจะอยู่หรือไปก็ขึ้นกับผู้มีอำนาจว่าจะตัดสินใจอย่างไร”นพ.ชลน่านกล่าว
เพื่อไทยแถลงจุดยืนแก้รธน.
วันเดียวกันพรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์ ถึงจุดยืนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคมีมติไม่ร่วมลงชื่อในญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับอำนาจสมาชิกวุฒิสภา ในมาตรา 272 หรือการยกเลิกสมาชิกวุฒิสภาตาม มาตรา 269 การยกเลิกหน้าที่ และอำนาจของวุฒิสภาในเรื่องการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ ตาม มาตรา 270 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรยับยั้งไว้ตาม มาตรา 137 (2) หรือ (3) ตาม มาตรา 271 นั้น ขอชี้แจงว่า
1. พรรคว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหามากมายในแทบทุกหมวด รวมทั้งบทเฉพาะกาล ซึ่งรวมทั้งสิ้นมี 279 มาตรา หลายปัญหาโยงใยเกี่ยวข้องกันในหลายหมวด และหลายบทมาตรา
2. พรรครัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีขึ้นเพื่อลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมุ่งสืบทอดระบอบเผด็จการอำนาจนิยม โดยเห็นได้ชัดเจนจากบทบัญญัติในหลายมาตรา จนสมาชิกของพรรคหลายคนถูกข่มขู่ คุกคาม ถูกเรียกไปปรับทัศนคติ และถูกดำเนินคดีนับไม่ถ้วน
3. การแก้ไขมาตราใดมาตราหนึ่ง หรือประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือหลายประเด็น ไม่สามารถทำให้รัฐธรรมนูญฉบับที่ออกแบบมาเช่นนี้กลายเป็นรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยที่เป็นของประชาชน จึงเห็นว่า ในเบื้องต้นมีเพียงหนทางเดียวนั่นคือ การสร้างกลไกให้ประชาชนเป็นผู้ร่างและให้ความเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งต้องทำทั้งฉบับ
หนุนตั้งส.ส.ร.-รื้อมาตรา256
4. ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะประชาชนจะเป็นผู้แก้ปัญหาต่างๆของประเทศด้วยตัวเขาเอง พรรคจึงได้ยกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 เพื่อให้มี ส.ส.ร. และแก้ไขเงื่อนไขที่ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่แทบเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปตามปกติเช่นรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ
5. ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 ดังกล่าว พรรคเพื่อไทยยกร่างตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2562 และได้เสนอพรรคร่วมฝ่ายค้าน 7 พรรคในขณะนั้นตั้งแต่กลางปี 2562 โดยกำหนดว่าจะไม่แก้ไขในหมวด 1 และหมวด 2 เพราะพรรคเพื่อไทยเคยได้รับบทเรียนมาแล้ว ด้วยการถูกกล่าวหา และดำเนินคดีฐานล้มล้างการปกครอง และอาจยังมีความพยายามที่จะอ้างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22 / 2555 ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับต้องทำประชามติก่อน
6. ร่างรัฐธรรมนูญที่พรรคเสนอก่อนยื่นญัตติ ส.ส.ของพรรคก้าวไกล จำนวน 21 คน ขอถอนชื่อออก โดยให้เหตุผลว่าร่างแก้ไขมาตรา 256 ดังกล่าวมีการสงวนไม่แก้ในหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 ไว้ ทั้งๆที่ผู้เข้าร่วมประชุมของพรรคก้าวไกลในวันที่ 13 ส.ค. พ.ศ.2563 ประกอบด้วย หัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และเปลี่ยนใจในวันที่ 17 ส.ค.
ที่มาส.ว.อยู่ในวิสัยหารือกันได้
7. การดำเนินการของพรรคในการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันด้วยการให้มี ส.ส.ร. นั้น เป็นไปโดยสุจริต มุ่งหวังผลสำเร็จที่เป็นจริง จากความร่วมมือกันของทุกฝ่ายให้เป็นโรดแมพของประเทศ เพื่อมีกติกาใหม่ที่ทุกอย่างต้องจบที่กติกานี้ ซึ่งเป็นกติกาของประชาชน และ8. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะเรื่องอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา ที่มาของวุฒิสภา และ มาตรา 279 นั้น ล้วนแต่อยู่ในวิสัยที่จะร่วมปรึกษาหารือ และสร้างความเห็นพ้องร่วมกันต่อไปในห้วงเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช่การสนองความต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงสภาพความเป็นจริง และปัจจัยเกื้อหนุนที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ
“ปิยบุตร” ยันชงปิดสวิตช์ ส.ว.
นายปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า ให้สัมภาษณ์ว่า เหตุผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เรามองว่า 1.ต้องมี ส.ส.ร.มาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยไม่ต้องจำกัดว่าห้ามแก้หมวดใดหมวดหนึ่ง และ 2.ระหว่างทางที่รอการพิจารณาในสภาฯ ว่าจะได้ส.ส.ร.เมื่อไหร่ เราสามารถเสนอเข้าไปคู่ขนานได้คือ การเสนอญัตติเพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 269-272 ซึ่งเป็นการปิดสวิตช์ส.ว. รวมทั้งการยกเลิกมาตรา 279 ที่รับรองประกาศ การกระทำของคณะรัฐประหารก่อนหน้านี้ เพราะกว่าจะมีส.ส.ร. กว่าจะแก้ไขจนมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้นอาจใช้เวลา 1-2 ปี หากเกิดอุบัติเหตุการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ ยุบสภา ซึ่งการยุบสภาจะไม่เกิดความหมายอะไร ถ้ายังมี 250 ส.ว.ที่ยังมีอำนาจเลือกนายกฯ
จึงเสนอให้มีการปิดสวิตช์ส.ว.ไปก่อน หากยังประสงค์จะมีส.ว.อีกก็ค่อยให้เข้ากลับมาตามช่องทางปกติ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 107 พล.อ.ประยุทธ์ จะได้กลับมาเป็นนายกฯ อย่างสง่างาม ไม่มีคำครหา ทั้งนี้ ส.ว.หลายคนยอมยกเลิกอำนาจตัวเอง ตามมาตรา 272 แต่บางคนก็ไปไกล ยอมถึงขั้นให้ยกเลิก 250 ส.ว.ไปเลย ทำให้สถานการณ์ชุมนุมผ่อนคลาย คลี่คลายลง
ส่วนความเห็นที่ต่างกับพรรคเพื่อไทย ตอนนี้เป็นคนนอกแล้ว จึงไม่ทราบว่าเขาประชุมอะไรกัน หรือมีความขัดแย้งอะไรกัน ซึ่งในฐานะคนนอกที่มองเข้าไปนั้นเชื่อว่า พรรคการเมืองแต่ละพรรคมีอิสระต่อกัน
"ที่มา" - Google News
August 28, 2020 at 09:15AM
https://ift.tt/2QtHvVt
นายกฯโยนสภาฯรื้อที่มาส.ว. - ผบ.ทบ.เล็งแถลงผลงานทิ้งทวน - กรุงเทพธุรกิจ
"ที่มา" - Google News
https://ift.tt/2ZXuIAi
No comments:
Post a Comment