Pages

Sunday, August 16, 2020

ประชาชนปลดแอก: ผู้ชุมนุมเต็มพื้นที่รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นายกฯ สั่งห้ามใช้ความรุนแรง - บีบีซีไทย

kerisasakti.blogspot.com

ผู้ชุมนุม

กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ใช้ชื่อว่า "คณะประชาชนปลดแอก" นัดชุมนุมใหญ่วันนี้ (16 ส.ค.) มีผู้เข้าร่วมเต็มพื้นที่โดยรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและถนนราชดำเนินกลางจนถึงบริเวณแยกคอกวัว นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองที่มีผู้เข้าร่วมมากที่สุดในรอบหลายปี ประกาศ 3 ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ 1 ความฝัน คือการมี "ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ"

กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวาระครบรอบเดือน หลังมีการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกเมื่อ 18 ก.ค. ซึ่งในวันนั้นผู้จัดการชุมนุมในนาม "เยาวชนปลดแอก" ได้ประกาศ 3 ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ประกอบด้วย หยุดคุกคามประชาชน, ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และยุบสภา

ต่อมามีการพัฒนาเครือข่ายขึ้นเป็น "คณะประชาชนปลดแอก" เพื่อขยายแนวร่วมไปสู่นักกิจกรรมการเมืองตามสถานศึกษาต่าง ๆ รวมถึงประชาชนทั่วไป พร้อมเพิ่ม 2 หลักการ ได้แก่ ต้องไม่มีการทำรัฐประหาร และไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ และ "1 ความฝัน" คือการมี "ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ"

แม้มีข้อวิเคราะห์จากนักการเมืองและนักวิชาการบางส่วนว่า 10 ข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ของนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อ 10 ส.ค. เป็นปรากฏการณ์ "ทะลุเพดาน" และจะทำให้แนวร่วมการเคลื่อนไหวลดลง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีประชาชนเข้าร่วมชุมนุมหลายพันคน โดยเมื่อเวลา 16.30 น. ตำรวจประเมินว่ามีผู้ชุมนุมประมาณ 3,000 คน ขณะผู้จัดการชุมนุมประเมินเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. ว่าผู้ชุมนุม "ทะลุ 1 หมื่นคน"

ผู้ร่วมชุมนุมทยอยเดินทางมาที่ถนนราชดำเนินตั้งแต่ก่อน 15.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ผู้จัดการชุมนุมนัดหมาย บางส่วนชูป้ายข้อความที่นำมาเอง มีการตั้งเวทีขนาดเล็กบนถนนราชดำเนินกลางตรงข้ามศูนย์เบนซ์ธนบุรี แกนนำเริ่มต้นกิจกรรมด้วยการชวนผู้ชุมนุมร้องเพลง "แจวขับไล่รัฐบาล" เรียกร้องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และหยุดการคุกคามประชาชน และเรียกร้องให้ ส.ว. 250 คน ที่ทีสิทธิโหวตเลือกนายกฯ ออกจากการเมือง

ขณะที่กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นำโดยนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ได้เดินขบวนเรียกร้องย้ำข้อเรียกร้อง 10 ประการเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ขณะที่บนเวทียังมีการปราศรัยในหลายประเด็นรวมถึงความเท่าเทียมทางเพศ

ตั้งแต่ช่วงเย็น มีหลายกลุ่มสลับกันขึ้นพูดหลากหลายปัญหาที่เกี่ยวกับการเรียกร้องประชาธิปไตยบนเวทีปราศรัย เช่น กลุ่มนักเรียนเลว กลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กลุ่มรณรงค์รื้อสร้างร่างรัฐธรรมนูญใหม่ คณะผู้หญิงปลดแอกประชาชนกลุ่มหลากหลายทางเพศ

ชุมนุมประท้วง

การชุมนุมใหญ่เมื่อ 18 ก.ค. ทำให้แกนนำจัดกิจกรรมอย่างน้อย 3 คน ได้แก่ นายอานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน, นายภาณุพงศ์ จาดนอก ประธานกลุ่ม "เยาวชนตะวันออกเพื่อประชาธิปไตย" และนายพริษฐ์ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และแกนนำสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) ตกเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลอาญาลงวันที่ 6 ส.ค. ในข้อหาสร้างความปั่นป่วนให้เกิดความกระด้างกระเดื่องฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และอื่น ๆ รวม 7-8 ข้อหา

ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวทั้ง 3 คน โดยกำหนดเงื่อนไขว่าห้ามกระทำการใด ๆ ลักษณะเดียวกันกับการกระทำที่ถูกกล่าวหา มิฉะนั้นจะถือว่าผิดสัญญาประกัน แต่ทั้ง 3 คนก็ได้ปรากฏตัวในสถานที่ชุมนุมในวันนี้แล้ว

คนถือป้ายประท้วง

ด้านกองบัญชาการนครบาล (บช.น.) ระดมเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 กองร้อย เข้ารักษาความสงบโดยรอบ พร้อมจัดชุดสืบสวนคอยหาข่าวและเก็บข้อมูลในระหว่างการชุมนุม โดยมีการประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงให้ระมัดระวังการละเมิดกฎหมายหลายฉบับ

ขณะเดียวกันประชาชนฝ่ายผู้เห็นต่างได้จัดตั้งองค์กรที่ใช้ชื่อว่า "ศูนย์กลางประสานนักศึกษาอาชีวะ ประชาชนปกป้องสถาบัน" หรือ ศอปส. ได้แทรกซึมอยู่ในสถานที่ชุมนุม "เพื่อทำการเก็บหลักฐานทั้งภาพและเสียงแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ" หากพบการจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ หลังพวกเขารวมกลุ่มกันแสดงพลังปกป้องสถาบันฯ ในจุดเดียวกันนี้เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา

ภายหลังจากการชุมนุมใหญ่เมื่อ 18 ก.ค. ได้เกิดการชุมนุมย่อยเพื่อประท้วงต่อต้านรัฐบาล หรือที่รู้จักในชื่อ "แฟลชม็อบ" ภาค 2 ตามมาอย่างน้อย 49 จังหวัดทั่วประเทศตามการรวบรวมข้อมูลของบีบีซีไทย ขณะเดียวกันมีประชาชนอีกกลุ่มได้จัดตั้งองค์กรตอบโต้ที่ใช้ชื่อว่า "ศูนย์กลางประสานนักศึกษาอาชีวะ ประชาชนปกป้องสถาบันฯ" (ศอปส.) ปรากฏความเคลื่อนไหวในการแสดงพลังปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างน้อย 11 จังหวัดทั่วไทย

ความเคลื่อนไหวแนวร่วม "ประชาชนปลดแอก" กับ "ประชาชนปกป้องสถาบัน"

แตะ หรือ  คลิก ที่นี่ เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติม

เลือกหัวข้อที่จะไฮไลท์บนแผนที่

แนวร่วมประชาชนปกป้องสถาบัน

มี ยังไม่มี
จังหวัด แนวร่วมประชาชนปกป้องสถาบัน แนวร่วมประชาชนปลดแอก
เชียงใหม่ ไม่มี มี
เชียงราย ไม่มี มี
เพชรบุรี ไม่มี ไม่มี
เพชรบูรณ์ ไม่มี มี
เลย ไม่มี มี
แพร่ ไม่มี มี
แม่ฮ่องสอน ไม่มี ไม่มี
กระบี่ ไม่มี มี
กรุงเทพมหานคร มี มี
ปราจีนบุรี ไม่มี มี
กาฬสินธุ์ ไม่มี มี
กำแพงเพชร ไม่มี ไม่มี
ขอนแก่น มี มี
จันทบุรี มี มี
ฉะเชิงเทรา ไม่มี มี
ชลบุรี ไม่มี มี
สิงห์บุรี ไม่มี ไม่มี
ชัยภูมิ ไม่มี มี
ชุมพร ไม่มี ไม่มี
ตรัง ไม่มี ไม่มี
ตราด ไม่มี ไม่มี
ตาก ไม่มี ไม่มี
นครนายก ไม่มี ไม่มี
นครปฐม ไม่มี มี
นครพนม ไม่มี มี
นครราชสีมา มี มี
นครศรีธรรมราช มี มี
นครสวรรค์ ไม่มี มี
สมุทรปราการ ไม่มี มี
นราธิวาส ไม่มี ไม่มี
น่าน ไม่มี มี
หนองคาย ไม่มี ไม่มี
บุรีรัมย์ ไม่มี ไม่มี
ปทุมธานี มี มี
ประจวบคีรีขันธ์ ไม่มี ไม่มี
บึงกาฬ ไม่มี ไม่มี
ปัตตานี ไม่มี มี
พระนครศรีอยุธยา ไม่มี มี
พะเยา ไม่มี มี
พังงา ไม่มี ไม่มี
พัทลุง ไม่มี มี
พิจิตร ไม่มี ไม่มี
พิษณุโลก มี มี
ภูเก็ต ไม่มี มี
มหาสารคาม ไม่มี มี
มุกดาหาร ไม่มี ไม่มี
ยโสธร ไม่มี มี
ยะลา ไม่มี ไม่มี
ร้อยเอ็ด ไม่มี มี
ระนอง ไม่มี ไม่มี
ระยอง มี มี
ราชบุรี ไม่มี มี
อ่างทอง มี ไม่มี
ลำปาง ไม่มี มี
ลำพูน ไม่มี มี
ศรีสะเกษ ไม่มี มี
สกลนคร ไม่มี มี
สงขลา ไม่มี มี
สตูล มี ไม่มี
สระบุรี ไม่มี มี
สมุทรสงคราม ไม่มี ไม่มี
สมุทรสาคร ไม่มี มี
สระแก้ว มี มี
สระบุรี ไม่มี ไม่มี
สิงห์บุรี ไม่มี ไม่มี
สุโขทัย ไม่มี ไม่มี
สุพรรณบุรี ไม่มี มี
สุราษฎร์ธานี ไม่มี มี
สุรินทร์ ไม่มี ไม่มี
หนองคาย ไม่มี มี
หนองบัวลำภู ไม่มี มี
อ่างทอง ไม่มี ไม่มี
อำนาจเจริญ ไม่มี ไม่มี
อุดรธานี ไม่มี มี
อุตรดิตถ์ ไม่มี ไม่มี
อุทัยธานี ไม่มี ไม่มี
อุบลราชธานี ไม่มี มี

แนวร่วมประชาชนปลดแอก

มี ยังไม่มี

ที่มา : บีบีซีไทยรวบรวมข้อมูลที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ณ วันที่ 14 ส.ค.

"อานนท์" เชื่อสถาบันฯ พร้อมรับฟัง

นายอานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน ผู้เปิดปราศรัยเรื่องการขยายพระราชอำนาจสถาบันกษัตริย์ในพื้นที่สาธารณะเมื่อวันที่ 3 ส.ค. ให้สัมภาษณ์บีบีซีว่า การขยับเพดานการพูดประเด็นนี้ในที่ชุมนุมของประชาชน แม้จะมีความเสี่ยงในระยะแรก แต่เขาเชื่อว่าความเสี่ยงเหล่านี้จะค่อย ๆ หมดไปในที่สุด และเชื่อว่าข้อเสนอเหล่านี้จะทำให้ประเทศเดินหน้าต่อได้

นายอานนท์บอกว่าเขาเชื่อว่าสถาบันพระมหากษัตริย์พร้อมจะรับฟัง "และพวกเราทุกคนพร้อมจะพูดอย่างตรงไปตรงมา"

ทนายความสิทธิมนุษยชนวัย 35 ปี อธิบายว่า ต่อจากนี้ข้อเสนอเรื่องสถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็น "ความฝัน" ของคณะประชาชนปลดแอก จะอยู่ในการเคลื่อนไหวต่อไป โดยมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ และ 2 จุดยืน เป็นบันไดที่จะทำให้ความฝันนั้นเป็นจริง

"รากแก้วที่ต้องหยั่งลึก คือ สถาบันกษัตริย์ต้องอยู่กับประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและเหนือการเมืองอย่างแท้จริง" เขาระบุ

นายอานนท์กล่าวถึงข้อเรียกร้อง 10 ประการเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ที่มีการประกาศในการชุมนุมที่ มธ.ศูนย์รังสิตเมื่อวันที่ 10 ส.ค.ว่า "เราเริ่มนับหนึ่งของประวัติศาสตร์หน้าใหม่อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ส่วนประวัติศาสตร์จะเปลี่ยนไปตามที่เราคาดหมายหรือไม่เป็นหน้าที่ของเราที่จะช่วยกัน"

นายกฯ สั่งห้ามเจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม

ก่อนการชุมนุมของคณะประชาชนปลดแอกจะเริ่มขึ้นไม่นาน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ฝากขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ดูความสงบเรียบร้อยร้อยในการจัดการชุมนุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

น.ส.ไตรศุลีกล่าวว่านายกฯ ขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่และขอให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ใช้ความอดทนอดกลั้นต่อการยั่วยุ ห้ามใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมเด็ดขาด โดยให้เข้าใจว่าความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติของการเมือง จึงต้องเปิดโอกาสให้เยาวชนคนหนุ่มสาวได้แสดงออกอย่างเต็มที่ แต่ต้องไม่เกินเลยกรอบของกฎหมาย และไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น

นอกจากนี้ นายกฯ ยังขอให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก

line

รวมภาพการชุมนุม 16 ส.ค.

ผู้ชุมนุมถือธงสีรุ้ง
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ชูสามนิ้ว
ผู้ชุมนุมถือป้ายประท้วง
บรรยากาศการชุมนุมในช่วงเย็น

Let's block ads! (Why?)



"ที่มา" - Google News
August 16, 2020 at 08:09PM
https://ift.tt/3h3ryRk

ประชาชนปลดแอก: ผู้ชุมนุมเต็มพื้นที่รอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย นายกฯ สั่งห้ามใช้ความรุนแรง - บีบีซีไทย
"ที่มา" - Google News
https://ift.tt/2ZXuIAi

No comments:

Post a Comment