Pages

Saturday, July 11, 2020

ย้อนที่มา โครงการ "เงินอุดหนุนบุตร" ลดเหลื่อมล้ำ ได้ประโยชน์3ต่อ - ฐานเศรษฐกิจ

kerisasakti.blogspot.com

รายงานพิเศษ : จุดกำเนิด "เงินอุดหนุนบุตร" ลดเหลื่อมล้ำ ได้ประโยชน์3ต่อ

"โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด" หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า "เงินอุดหนุนบุตร" เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. ขณะนั้น พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงห์แก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ 

พล.ต.อ.อดุลย์ เสนอวาระต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558  เรื่อง โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ซึ่งที่ประชุมครม. ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)  เป็นประธานการประชุม มีมติเห็นชอบในหลักการ "โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด" 

โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการจัดสวัสดิการพื้นฐานเพื่อสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคมและเป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ รวมทั้งเป็นมาตรการจูงใจให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก นำเด็กเข้ารับบริการทางสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างเป็นระบบ โดยการให้เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดสัญชาติไทยที่บิดา และ/หรือมารดาที่มีสัญชาติไทย อยู่ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน  ซึ่งตอนนั้นเริ่มต้นด้วยการอุดหนุนรายละ 400 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปี  ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หวังจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเดต”เงินอุดหนุนบุตร” เงินโอนไม่เข้าต้องทำอย่างไร เช็กที่นี่ที่เดียว

กางปฏิทินจ่าย”เงินอุดหนุนบุตร” โอนอีกรอบวันไหนเช็กที่นี่

ยังไม่ได้ เงินอุดหนุนบุตร' โทรถามเบอร์ไหน เช็กได้ที่นี่

ในที่ประชุมครม.วันนั้น กระทรวงพม. ได้จัดทํา ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย วิธีการและรูปแบบการให้ความช่วยเหลือเด็กแรกเกิด จากการคาดประมาณจํานวนเด็กแรกเกิดในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนเสี่ยงต่อความยากจน ปี  2559 โดยใช้เกณฑ์เส้นความยากจน ซึ่งคํานวณโดย สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)


พบว่ามีเด็กแรกเกิดในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนที่เสี่ยงต่อความยากจน ประมาณ 135,768 คน ซึ่งโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จึงเป็นนโยบายสําคัญระดับชาติของรัฐบาล ซึ่งเป็นการสร้างระบบคุ้มครองทางสังคม (Social Protection) โดยจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนให้กับเด็กแรกเกิด ในครัวเรือนยากจนและครัวเรือนเสี่ยงต่อความยากจน รวมทั้งเป็นการลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม 

พม.ให้เหตุผลด้วยว่า การจัด สวัสดิการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด นอกจากจะเป็นการประกันสิทธิให้เด็กได้รับสิทธิโดยตรง ทั้งด้านการอยู่รอดและพัฒนาแล้ว ยังเป็นการสร้างช่องทางให้เด็กเข้าถึงสิทธิในเรื่องอื่น ๆ ตามมาเนื่องจากเป็น มาตรการให้พ่อแม่นําเด็กเข้าสู่ระบบบริการของรัฐเพื่อให้เด็กได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็น ระบบ โดยเริ่มตั้งแต่การฝากครรภ์ การเข้าโรงเรียนพ่อแม่ การจดทะเบียนเกิด การรับวัคซีน และการตรวจ สุขภาพตามสมุดบันทึกสุขภาพ นอกจากจะเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับครอบครัวที่ยากจนแล้ว ยังเป็นการ เพิ่มโอกาสและช่องทางในการเข้าถึงบริการของรัฐเพื่อให้เด็กได้รับสิทธิและได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ 

"เป็นรูปแบบหนึ่งของการคุ้มครองทางสังคม ที่นิยมใช้ในหลายประเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและคุ้มครองให้เด็กได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย จีน ฯลฯ หรือประเทศกําลัง พัฒนา อาทิ บราซิล แอฟริกาใต้ ศรีลังกา และประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น โดยรัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนเป็นประจําให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ให้มีเงินเพื่อจับจ่ายใช้สอยในรายการที่มีความจําเป็นสําหรับการเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ซึ่งรูปแบบ การจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กในต่างประเทศมีทั้งแบบถ้วนหน้า (Universal) ที่จ่ายให้กับเด็กทุกคน และแบบเฉพาะกลุ่ม (Targeting) ที่อุดหนุนให้เฉพาะครัวเรือนยากจน ซึ่งจํานวนเงินอุดหนุนต้องอยู่ในระดับที่ เพียงพอ แต่ไม่ใช่จํานวนเงินที่สูงเกินไป"

นอกจากนี้ พม.ยังระบุด้วยว่า จากการศึกษาของ ศ.ดร. เจมส์ เจ เฮคแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ประจําปี 2542 พบว่าการลงทุนสําหรับเด็กช่วงแรกเกิด - 6 ปีจะได้รับผลตอบแทนสูงสุดเมื่อเทียบกับ การลงทุนในช่วงวัยอื่น การลงทุนในเด็กเล็ก 1 ดอลล่าร์ จะได้ผลตอบแทนกลับมา 7 ดอลล่าร์ การลงทุนเพื่อ การพัฒนาเด็กช่วงแรกเกิดและปฐมวัยจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าให้ผลตอบแทนแก่สังคมที่ดีที่สุดในระยะยาว โดยให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในอนาคต 7-10 เท่า เนื่องจากมนุษย์มีพัฒนาการรวดเร็วสูงสุดในช่วงแรกเกิดและ ปฐมวัยซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตในช่วงวัยที่เหลือ

กล่าวคือหากเด็กได้รับการดูแลอย่างดีตั้งแต่ช่วงแรก เกิดและปฐมวัยแล้ว จะทําให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานที่ ดีและส่งผลดีต่อการพัฒนาในช่วงวัยอื่นต่อไป ทั้งวัยเรียน วัยรุ่น วัยแรงงานและผู้สูงอายุ เนื่องจากการที่เด็ก มีพัฒนาการสมวัยทั้งด้านร่างกายและสติปัญญาย่อมส่งผลต่อความสําเร็จทางการศึกษาที่ดีขึ้น มีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ลดภาระค่าใช้จ่ายการดูแลสุขภาพในอนาคต รวมทั้งมีประสิทธิภาพการทํางานที่สูงขึ้น และเป็น ประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต ส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว

นอกจากนี้ พม.ยังได้แจกแจงให้เห็นถึงประโยชน์ 3 ต่อ กับโครงการนี้ ได้แก่

1. ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ : เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพื่อพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และสร้างรากฐานที่สําคัญของการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เด็กสามารถเติบโตเป็นประชากร ที่มีคุณภาพของสังคมและเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

2. ประโยชน์ต่อเด็ก : เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ เข้าถึงบริการ ทางสาธารณสุข มีคุณภาพอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะสามารถส่งเสริมให้เด็กแรกเกิดและปฐมวัย มีพัฒนาการ เหมาะสมตามวัย เป็นพื้นฐานที่สําคัญในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงวัยอื่นๆ ต่อไป

3. ประโยชน์ต่อ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก : ได้รับการช่วยเหลือแบ่งเบา ภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็ก รวมทั้งทําให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนาการเด็กผ่านโรงเรียนพ่อแม่

ที่มาข้อมูล สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.)


Let's block ads! (Why?)



"ที่มา" - Google News
July 12, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/32acaOK

ย้อนที่มา โครงการ "เงินอุดหนุนบุตร" ลดเหลื่อมล้ำ ได้ประโยชน์3ต่อ - ฐานเศรษฐกิจ
"ที่มา" - Google News
https://ift.tt/2ZXuIAi

No comments:

Post a Comment