Pages

Thursday, July 9, 2020

What is INTERGENERATION - พูดคุยที่มา กว่าจะเป็นพื้นที่แห่งความสุขที่ออกแบบเพื่อทุกเจเนอเรชั่นที่ MULBERRY GROVE Sukhumvit [Advertorial] - thestandard.co

kerisasakti.blogspot.com

MULBERRY GROVE Sukhumvit

‘INTERGENERATION’ คำนี้ไม่ใช่คำใหม่ ถ้าให้อธิบายอย่างง่ายที่สุดก็คือคำที่พูดถึงและหมายถึงการอยู่ร่วมกันในพื้นที่หนึ่งของแต่ละเจเนอเรชั่น คือพื้นที่ที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สามารถแชร์เรื่องราว ประสบการณ์ และมีกิจกรรมร่วมกันได้


THE STANDARD เดินทางมายังโครงการ MULBERRY GROVE Sukhumvit อีกหนึ่งโครงการที่อยู่อาศัยระดับ Super-Luxury Residence โดย บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ที่ถูกพัฒนาและออกแบบจากการศึกษาและวิจัยในระดับลงลึกจนเกิดเป็นคอนเซปต์หลัก ‘DESIGN FOR THE FINEST INTERGENERATION LIVING คอนโดที่ออกแบบเพื่อทุกเจเนอเรชั่น’ พื้นที่ที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและใช้เวลาร่วมกันอย่างแท้จริง

โดยเราได้ล้อมวงพูดคุยกับ 6 บุคคลสำคัญเบื้องหลังโครงการ MULBERRY GROVE Sukhumvit ได้แก่

  • รุ่งโรจน์ จงศุจิพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส แบรนด์ MULBERRY GROVE, MQDC
  • ฮันส์ บราวเออร์ Design Consultant, HB Design Co., Ltd.
  • จรัล จงเจริญกมล ที่ปรึกษาด้านการออกแบบ Leo International Design Group Co., Ltd.
  • บุญฑริกา วรรณพิณ Landscape Collaboration Co., Ltd.
  • วีณา อ่องจริต Founding & Managing Partner, Think Solutions Consultants Co., Ltd.
  • สริธร อมรจารุชิต Assistant Vice President, ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC), Member of MQDC

มาร่วมกันค้นหาคำตอบว่า INTERGENERATION คืออะไร และทำไมคำนี้อาจเป็นคำตอบของรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองต่อไปในอนาคตได้

(จากซ้าย) สริธร อมรจารุชิต, วีณา อ่องจริต, รุ่งโรจน์ จงศุจิพันธุ์, จรัล จงเจริญกมล, บุญฑริกา วรรณพิณ และฮันส์ บราวเออร์

ที่มาที่ไปของแนวคิด INTERGENERATION LIVING ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ MULBERRY GROVE Sukhumvit เกิดขึ้นได้อย่างไร

รุ่งโรจน์: ต้องย้อนไปถึงผลวิจัยที่เรา (MQDC) วิจัยถึง Pain Point ของรูปแบบการอยู่อาศัยของสังคมไทยมาโดยตลอด เราพบว่าสังคมไทยของเรา ผู้คนมีความสุขลดน้อยลง และเรากำลังเข้าสู่สังคมแบบ Aging Society ที่มีจำนวนผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้น

แล้วเราก็มาค้นพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มีอายุยืนและมีสุขภาพที่ดีนั้น ปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากการที่พวกเขาได้ใช้ชีวิตอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากับครอบครัว ซึ่งหมายถึงเจเนอเรชั่นอื่นๆ ทั้งเด็กและวัยรุ่น

ซึ่งรูปแบบสังคมแบบนี้เป็นสิ่งที่คนไทยของเรามีกันมานานแล้ว เราจึงกลับมาคิดว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถนำเอารูปแบบการอยู่กับครอบครัวใหญ่ นำเอาความสุขตรงนั้นกลับมาในสังคมเมือง รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตและอยู่อาศัยแบบคนเมืองได้บ้าง

นั่นจึงเป็นเหตุผลให้เราทำงานอยู่บนโจทย์ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะเกิดพื้นที่อยู่อาศัยที่ออกแบบสำหรับทุกเจเนอเรชั่นจริงๆ

INTERGENERATION ไม่ใช่คำใหม่ มันคือรากเหง้าของคนเอเชียจริงๆ หรืออย่างคนไทยเราที่อยู่ร่วมกันในบ้านใหญ่แบบนี้มานานมากแล้ว 

วีณา: ที่เราได้ยินกันบ่อยคือคำว่า Multi-Generation Living ที่จะเน้นเรื่องความหลากหลาย แต่มิติของ INTERGENERATION จะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำนี้ แต่ลงลึกไปที่การให้คุณค่าของการใช้ชีวิต รวมถึงมิติของวัฒนธรรมการอยู่อาศัยแบบไทยๆ ด้วย

ไอเดียหลักของ INTERGENERATION มีการพูดถึงเรื่องของ Space ด้วยในกระบวนการการออกแบบ ทาง MULBERRY GROVE Sukhumvit สร้างสมดุลกันอย่างไรระหว่างพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่ครอบครัว รวมไปถึงพื้นที่ส่วนกลาง

วีณา: เราเริ่มกันที่ Design Research ก่อน โดยทำการวิจัยไปที่เรื่องของพื้นที่แบบ Co-Creation ดูว่าเกิดกิจกรรมอะไรขึ้นบ้าง ตอนที่ทำรีเสิร์ชเราไม่ได้ตั้งต้นว่าโปรดักต์คืออะไร เราสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงนั้นก่อน มันนำไปสู่แนวคิดอะไรได้บ้าง เห็นรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง

เราจึงเห็น Pain Point อย่างหนึ่งว่า Family Value เป็นเรื่องที่คนไทยให้ความสำคัญมากๆ คือการอยู่ร่วมกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลา มันคือการเกื้อกูลกันในรูปแบบครอบครัว พูดง่ายๆ คือพร้อมหน้าพร้อมตา ในความหมายที่ทุกเจเนอเรชั่นมีความสุขได้ในพื้นที่เดียวกัน

ฮันส์: ถ้าให้ผมอธิบายในทางสถาปัตยกรรม ผมเลือกที่จะออกแบบโดยคำนึงถึงสเกลที่เชื่อมโยงกัน ไม่ว่าจะเป็น City Scale, Building Scale และ Home Scale ทั้งสามสเกลต้องสอดคล้องสัมพันธ์กัน จึงเกิดรูปแบบการอยู่อาศัยที่เรียกว่า INTERGENERATION ขึ้นมา

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือพื้นที่ที่เรียกว่า NOOK MULTI-PURPOSE SPACE คือพื้นที่ที่สามารถให้ทุกเจเนอเรชั่นสามารถเข้ามาใช้งานได้ทั้งในสเกลของบ้านที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวและสเกลของพื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่ที่เกิดได้ทุกกิจกรรมและฟังก์ชัน เพราะฉะนั้นมันจึงต้องเป็นได้ทุกรูปแบบ พูดง่ายๆ ก็คือเราออกแบบจากความเป็นมนุษย์ เข้าใจให้ได้ก่อนว่าพวกเขาทำอะไร มีความสุขเพราะอะไร เราออกแบบจากสิ่งเหล่านั้น

เพื่อทำความเข้าใจถึงแนวคิด ‘DESIGN FOR THE FINEST INTERGENERATION LIVING คอนโดที่ออกแบบเพื่อทุกเจเนอเรชั่น’ ที่มาที่ไปและเหตุผลที่ทำให้ MULBERRY GROVE ตัดสินใจเลือกแนวคิดนี้มาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ เราจึงพูดคุยเชิงลึกเพิ่มเติมกับ สริธร อมรจารุชิต Assistant Vice President จากศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC), Member of MQDC และ วีณา อ่องจริต Founding & Managing Partner จาก Think Solutions Consultants Co., Ltd.

ก่อนจะมาเป็นแนวคิด ‘DESIGN FOR THE FINEST INTERGENERATION LIVING คอนโดที่ออกแบบเพื่อทุกเจเนอเรชั่น’ ในขั้นตอนการวิจัย คุณเห็นไอเดียหรือสิ่งที่น่าสนใจอะไรในกระบวนการนี้บ้าง

วีณา: ก่อนหน้าเราจะเห็นว่า ‘เมือง’ ถูกสร้างขึ้นมาแบบ Mono Functional หมายถึงเกิดรูปแบบการใช้พื้นที่แบบฟังก์ชันเดียว ถูกแบ่งเป็นโซน เป็นเขตอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น โซนนี้เป็นธุรกิจ แบบที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ว่าทุกเมืองต้องมีโซน CBD (Central Business District) แล้วก็จะมีโซนชานเมืองที่เป็นโซนสำหรับอยู่อาศัยแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน

ทีนี้พอเราแยกส่วนของเมือง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือความหลากหลายก็จะลดลง ไหนจะปัญหาเรื่องการกระจุกตัวของระบบเศรษฐกิจ หรือแม้แต่ที่เราเพิ่งเคยได้ยินกันก็คือเกิด Lonely Society ทุกคนได้ทำกิจกรรม ได้ใช้ชีวิตกันก็จริง แต่มันไม่เกิดการมีส่วนร่วมเลย ซึ่งขัดกับธรรมชาติของผู้คนมากๆ

ยุคนี้ในวงการผังเมืองจึงกลับมาคุยกันเรื่องความหลากหลาย เทรนด์ของ Sharing Economy มันกลับมา การใช้ชีวิตแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เริ่มเป็นที่พูดถึงและต้องการของหลายๆ เมือง

ภาพง่ายๆ ที่เราจะเห็นได้เลยก็คือการนำผู้สูงอายุไปอยู่ร่วมกันในคอมมูนิตี้ ถามว่าพวกเขาเหล่านั้นสุขภาพกายดีขึ้นไหม ดีขึ้นจริง แต่สุขภาพใจแย่ลง เพราะพวกเขาเหงา พวกเขาต้องการใช้ชีวิตร่วมกับเจเนอเรชั่นอื่นๆ ด้วยมากกว่า พวกเขาไม่อยากอยู่อย่างโดดเดี่ยวในสังคม

ที่เรารีเสิร์ชกันไม่ได้ทำเพื่อจะสนับสนุนแนวความคิดใดความคิดหนึ่ง เพราะเราบอกกันไว้ล่วงหน้าเลยว่าถ้ามันออกมาแล้วไม่เป็นไปตามที่คาดหวังหรือเป็นไปไม่ได้ เราต้องเข้าใจและยอมรับมันนะ เพราะที่เราทำมันคือ Design Research ไม่ใช่ Real Estate Research

จะเห็นว่าในยุคนี้ ทุกเรื่องราวและแนวคิดการออกแบบจะต้องมองไปถึงเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) แล้วโครงการ MULBERRY GROVE มีความยั่งยืนอย่างไร

สริธร: ถ้ามองในมิติของเมือง เมืองมันจะไม่ยั่งยืนถ้าทุกคนในแต่ละเจเนอเรชั่นของสังคมไม่มีความสุข คือด้วยโลเคชันของเรามันจะขายอย่างไรก็ได้ด้วยซ้ำ แต่เรามองภาพรวมของสังคมมากกว่า เราสร้างดีมานด์ใหม่ให้กับสังคมดีกว่า

อีกภาพหนึ่งคือเรามองเรื่องการสร้างคอมมูนิตี้ ความเป็นเพื่อนบ้าน เราไม่ได้มองว่าตัวเองคือศูนย์กลาง แต่เราต้องการเชื่อมต่อกับทุกรูปแบบการใช้ชีวิต กับโรงพยาบาล กับโรงเรียน กับสถานที่อื่นๆ เพราะแน่นอนว่ามันคือการใช้ชีวิตแบบ INTERGENERATION จริงๆ

อีกอย่างคือเรายังคงไม่หยุดศึกษาและวิจัยแนวคิดนี้ เพราะเราก็อยากมองในสเกลและระดับอื่นๆ ด้วย ตอนนี้มันออกมาเป็นลักชัวรี แต่ในอนาคตเราก็อยากทำให้เป็นแนวคิดที่จับต้องได้และตอบโจทย์กับคนในทุกเจเนอเรชั่น

จากแนวคิด INTERGENERATION ที่เป็นสารตั้งต้นของโจทย์ สู่การออกแบบที่เราเองก็มองว่านี่คือโจทย์ที่ยากพอสมควร เราจึงพูดคุยกันต่อกับ ฮันส์ บราวเออร์ Design Consultant จาก HB Design Co., Ltd., จรัล จงเจริญกมล ที่ปรึกษาด้านการออกแบบ Leo International Design Group Co., Ltd. และ บุญฑริกา วรรณพิณ Landscape Collaboration Co., Ltd. ถึงกระบวนการการออกแบบทั้งหมดของ MULBERRY GROVE Sukhumvit

คุณตีความแนวคิด INTERGENERATION ให้ออกมาเป็นงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบอย่างไรบ้าง

ฮันส์: ผมเรียกการออกแบบโครงการนี้ว่ามันเป็น Aspirational เราจะเห็นความทะเยอทะยานของมันสูงมาก สิ่งแรกเลยคือเราต้องทำความเข้าใจกับทั้งหมด ทั้งหมดหมายถึงทุกเจเนอเรชั่น เราเลือกจับเอาความลักชัวรีมาเป็นภาพลักษณ์เพื่อสร้างความพึงพอใจให้มากที่สุดกับทุกช่วงวัยที่จะเข้ามาอยู่อาศัยและใช้ชีวิตที่นี่ ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรืออายุมากแค่ไหนก็ตาม การออกแบบจึงต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นด้วย

Aspirational มันคือการนำเสนอบางสิ่งบางอย่างที่นำพาคุณไปสู่บางสิ่งบางอย่าง ซึ่งมันจำกัดความออกมาเป็นแนวทางทางศิลปะยากเหมือนกัน แต่เราเน้นหนักไปที่การสร้างความพึงพอใจสูงสุด จะบอกว่ามันบียอนด์มากๆ เลยก็ได้ ถือเป็นอีกหนึ่งโปรเจกต์ที่ท้าทายผมมากๆ เลยทีเดียว

เพราะต้นทางของมันไม่ได้เริ่มจากแนวทางว่าอยากได้แบบไหน แต่มันคือการตีโจทย์จากการวิจัย คุณอาจจะมองว่ามันก็แค่โครงการอสังหาริมทรัพย์หนึ่ง แต่จริงๆ ภาพมันใหญ่กว่านั้น เพราะมันประกอบไปด้วยหลายๆ โครงสร้าง จะเรียกว่าเป็น City Project ก็ยังได้

มีความยากง่ายอย่างไรเมื่อต้องออกแบบและคัดเลือกวัสดุให้สอดคล้องไปกับแนวคิด INTERGENERATION

จรัล: วัสดุแทบทุกอย่างเราต้องดูแลเป็นพิเศษ ต้องใช้ได้จริง ไม่ใช่เพื่อโชว์ แล้วเราดูแลในทุกฟังก์ชันของห้องนั้นๆ ตู้เสื้อผ้า ตู้เก็บของ ต้องตอบรับกับทุกรูปแบบชีวิตและการใช้งาน ทุกช่อง ทุกฟังก์ชันจะเกิดขึ้นได้เพราะเราเห็นการใช้งานจริง

เราทำงานกับศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ในเรื่องของวัสดุ นี่ถือเป็นความยั่งยืนที่เราใส่ใจ และเราก็ใช้วัสดุอย่างรู้คุณค่า ตัวอย่างเช่น หินที่ใช้ก่อสร้าง เราก็เลือกหินที่ไม่ได้มาจากการระเบิดหิน เพราะเรามองว่านั่นคือการทำลายสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเรายังมีสิ่งที่ทดแทนได้และไม่ทำลายโลกของเราด้วย หรือวัสดุไม้ เราก็ใช้ไม้จากป่าปลูกเท่านั้น 

มีทั้งความยากและความง่ายในการทำงาน เราออกแบบด้วยความเป็น Neutral Concept ไม่มากไป ไม่น้อยไป เราต้องการให้ผู้อยู่อาศัยซึ่งจะเป็นเจเนอเรชั่นใดก็ได้สามารถเติมเข้า เอาออก หรือเพิ่มเติมความต้องการได้อย่างมีความสุข การออกแบบของเราจึงไม่เน้นการบังคับให้ใครต้องทำอะไร ต้องใช้งานอะไร ให้ทุกคนได้รู้สึกถึงการเป็นพื้นที่ความสุขของตัวเอง

นอกจากพื้นที่อยู่อาศัยแล้ว พื้นที่ส่วนกลางก็ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ออกแบบด้วยแนวคิด INTERGENERATION เช่นเดียวกัน ทาง MULBERRY GROVE Sukhumvit ออกแบบพื้นที่เหล่านี้อย่างไรบ้าง

บุญฑริกา: เรากระจายพื้นที่ส่วนกลางไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั้งแนวตั้งและแนวราบ จะเห็นว่าบางทีหนึ่งพื้นที่จะถูกใช้งานในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน เราจึงเน้นการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสูง มากฟังก์ชัน และไร้กาลเวลา มีความเรียบง่ายเป็นตัวนำ แต่ซ่อนความลักชัวรีไว้ในรายละเอียด

จากการวิจัย เราพยายามหาคำตอบว่าอะไรคือตัวเชื่อมที่น่าสนใจในระหว่างเจเนอเรชั่นได้บ้าง นอกจากสายใยและความสัมพันธ์ในครอบครัว แล้วเราก็พบว่าคำตอบง่ายมากเลยก็คือธรรมชาติ เราจึงออกแบบโดยเน้นไปที่ Nature Connect ให้คนมาแชร์พื้นที่ร่วมกัน

เราเติมเต็มพื้นที่สีเขียวไปอย่างเต็มที่ทั้งแนวราบและแนวตั้ง สร้างสภาวะ Well-Being มันคือการสมดุลกันระหว่างธรรมชาติและการออกแบบ จะเห็นว่าเราให้พื้นที่ส่วนกลางเยอะมาก มีพื้นที่แห่งการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันได้ เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจเนอเรชั่น มี Gourmet Courtyard สวนพืชผักสวนครัวที่ทุกคนสามารถมาเก็บไปประกอบอาหารได้ ถ้ามองดีๆ คือเราพยายามสร้างพื้นที่ให้บ้านของทุกคนมีมากกว่าแค่ห้อง ให้ทุกคนได้ออกมาข้างนอก มาใช้ชีวิต มาเติมเต็มคอมมูนิตี้ และขยายความเป็นบ้านให้กว้างขึ้นด้วย

และเพื่อให้มองเห็นภาพรวมของโครงการที่ไม่ได้ใส่ใจแค่เรื่อง INTERGENERATION เพียงเท่านั้น เราจึงปิดท้ายด้วยการพูดคุยกับ รุ่งโรจน์ จงศุจิพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส แบรนด์ MULBERRY GROVE

ทำไม MULBERRY GROVE Sukhumvit จึงเกิดขึ้นจากแนวคิด ‘DESIGN FOR THE FINEST INTERGENERATION LIVING คอนโดที่ออกแบบเพื่อทุกเจเนอเรชั่น’

รุ่งโรจน์: อย่างที่บอกว่าที่เราตั้งใจทำออกมาทั้งหมดคือการสร้างพื้นที่ความสุขที่ออกแบบสำหรับทุกเจเนอเรชั่น เราจึงทำพื้นที่ที่คนทุกวัยสามารถทำอะไรได้ตามต้องการ ตอบโจทย์กับทุกความเปลี่ยนแปลงไปของครอบครัว

แรกสุดจริงๆ เราไม่ได้นึกถึง INTERGENERATION เลย เราเริ่มต้นจากคำถามที่ง่ายมากว่าความสุขที่แท้จริงของชีวิตคืออะไร ทำอย่างไรให้คนไทยมีความสุขในแบบที่เราเคยเป็น เพราะเราเชื่อว่าถ้าคนมีความสุข ครอบครัวก็จะมีความสุข สังคม ประเทศของเราก็มีความสุขและพัฒนาได้ดีขึ้น มันคือการต่อยอดจากคำถามง่ายๆ คำถามเดียวเลย

จากเท่าที่พูดคุยมาจะเห็นว่าทุกคนมองต่อไปที่เรื่องของความยั่งยืนด้วย เรามองว่าความสุขแบบนี้คือรากฐานที่แท้จริงของความยั่งยืน เรื่องการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ เรามองถึงความยั่งยืนเป็นอย่างแรก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เรากล้ารับประกันยาวนานถึง 30 ปี ครอบคลุมทั้งโครงสร้าง หลังคา ประตู หน้าต่าง ระบบสุขาภิบาล ไปจนถึงระบบไฟฟ้า

สิ่งหนึ่งที่เราเน้นไม่แพ้กันคือเรื่องการบริการ เป็นส่วนที่เติมเต็มให้พื้นที่แห่งนี้มีความน่าอยู่มากขึ้น เรามีทั้ง Caregiver Service บริการผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ดูแลเหตุฉุกเฉินประจำอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง, Wellness Manager ให้คำแนะนำในการออกกำลังกาย ดูแลความปลอดภัยในการใช้สระว่ายน้ำ จะเรียกว่าเป็นเทรนเนอร์ให้กับเราก็ได้, Afternoon Tea บริการฟรีทุกวัน ให้ทุกเจเนอเรชั่นได้มีเวลาแห่งความสุขร่วมกันมากขึ้น และ Concierge Service เจ้าหน้าที่ที่อำนวยความสะดวกในทุกรูปแบบ เช่น ช่วยหาบริการสปา บริการสอนพิเศษ บริการพี่เลี้ยง ฯลฯ

ซึ่งทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ MULBERRY GROVE Sukhumvit แตกต่างจากที่อื่น และเราจัดสรรมาให้เพื่อเติมเต็มความสุขของทุกครอบครัวจริงๆ

ทำไมจึงตั้งชื่อโครงการนี้ว่า MULBERRY GROVE Sukhumvit

รุ่งโรจน์: มัลเบอร์รีเป็นพืชที่อยู่กันเป็นกลุ่มก้อน อยู่กันเป็นพวง สะท้อนถึงการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สอดรับกับแนวคิด INTERGENERATION ที่แท้จริง

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อเยี่ยมชมโครงการ พร้อมรับข่าวสารและสิทธิพิเศษได้ที่ http://bit.ly/2RlndP9 หรือ โทร 08 4244 2456

Let's block ads! (Why?)



"ที่มา" - Google News
July 09, 2020 at 04:00AM
https://ift.tt/2Z9DoD6

What is INTERGENERATION - พูดคุยที่มา กว่าจะเป็นพื้นที่แห่งความสุขที่ออกแบบเพื่อทุกเจเนอเรชั่นที่ MULBERRY GROVE Sukhumvit [Advertorial] - thestandard.co
"ที่มา" - Google News
https://ift.tt/2ZXuIAi

No comments:

Post a Comment