Pages

Thursday, October 1, 2020

ความหมาย และที่มาของคำว่า "หักหัวคิว" - ข่าวไทยพีบีเอส

kerisasakti.blogspot.com

คำว่า “หักหัวคิว” ปรากฎอยู่ในข่าวตรวจสอบทุจริต กลโกงในวงการต่างๆโดยเฉพาะในวงการรับเหมาขุดลอก หรืองานก่อสร้างที่ใช้งบประมาณแผ่นดิน

เมื่อไปค้น ในเว็บไซต์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ก็พบว่า คำว่า “ค่าหัวคิว”  หรือ “กินหัวคิว”  จะหมายถึง การเรียกร้องเอาเงินหรือผลประโยชน์จากผู้ดำเนินกิจกรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้มีอิทธิพลหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ดูแลในเรื่องนั้น ๆ เพื่อแลกกับความสะดวกหรือสิทธิในการดำเนินกิจกรรมก่อนผู้อื่น  

เช่น  มีข่าวว่าคนที่กู้เงินจากกองทุนถูกหักค่าหัวคิวไปคนละ 15 เปอร์เซ็นต์.  ถ้าแผนกได้รับงบประมาณครั้งนี้ หัวหน้าแผนกคงได้ค่าหัวคิวไม่น้อย.  เธอจะขับรถมอเตอร์ไซค์ในซอยนี้ก็ได้แต่ต้องจ่ายค่าหัวคิวมาก่อน.  เขากินหัวคิวพวกเราไปแล้วคนละสามพันเพราะเราอยากได้เงินกู้เร็วๆ 

การหักหัวคิว อาจเกิดขึ้นในสังคมไทยมาช้านาน

ที่มาของคำว่า หักหัวคิว หรือกินหัวคิว ในมุมมองของนายโยธิน วรารัศมี ที่ปรึกษามูลนิธิน้ำและคุณภาพชีวิต จ.ขอนแก่น เกิดขึ้นเมื่อเกือบ 50 ปีก่อน และเป็นความทรงจำวัยเด็ก ที่เขาไม่เคยลืม

เขาเล่าว่า นโยบายผันเงิน ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลพรรคกิจสังคมภายใต้การนำของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ใน พ.ศ. 2518 ทำให้ เกิดการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาชนบทหรือการผันงบประมาณสู่ท้องถิ่นหนึ่งในโครงการที่ได้รับการผันเงินคือ โครงการขุดแหล่งน้ำแก้ปัญหาภัยแล้ง

ช่วงวัยเด็กของโยธิน เขา ตามพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ไปขุดดิน ในโครงการขุดแหล่งน้ำ เป็นการใช้แรงคนขุด

สมัยนั้นจัดสรรโครงการโดยกำหนดปริมาณเป็น คิวดิน คือ ผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันจะไปเอาโครงการมาจากอำเภอ เรียกว่าไปเอาหัวคิวมา เพื่อจ้างชาวบ้านขุดดินตามจำนวนคิวดินที่โครงการกำหนด เช่น โครงการสระน้ำหมู่บ้านขุด 500 คิวดิน โดยขุดดิน 1 คิว เท่ากับ ดิน 1 ลูกบาศก์เมตร

สมัยนั้น มีปัญหาโกงค่าแรง ที่เรียกว่า การหักค่าหัวคิว(ดิน) เนื่องจากการขุดสมัยนั้นจะใช้ไม้ไผ่ขนาด 1 เมตร เพื่อวัดพื้นที่ดิน ความกว้าง ยาวและลึก ให้ได้ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือ 1 คิวดิน แต่ไม้ไผ่ 1 เมตร ที่ชาวบ้านได้รับแจก เมื่อนำไปวัดจริงๆ กลับยาวถึง 1 เมตร 20 เซ็นติเมตร หรือ บางโครงการไม้ที่วัดอาจยาวถึง 1 เมตร 50 เซ็นติเมตร เป็นวิธีการโกงค่าแรงชาวบ้าน โกงค่าแรงขุดดิน เพราะชาวบ้านขุดได้ปริมาณดินมากกว่า จำนวนคิวดินที่ภาครัฐจ่ายค่าแรง

นี่คือที่มาของคำว่า หักหัวคิว ในมุมมองของโยธิน วรารัศมี ที่ปรึกษามูลนิธิน้ำและคุณภาพชีวิต จ.ขอนแก่น

ปัจจุบัน โครงการขุดลอก ผู้ที่ถูกหักหัวคิว คือผู้รับเหมารายย่อย ที่ให้ข้อมูลว่า โครงการที่มีงบประมาณ 5 แสนบาท ผู้ที่ขุดลอกจริง อาจได้แค่ 1 แสน 7 หมื่นบาท หรือ  2 แสนบาท เงินอีก 3 แสน อยู่ที่ไหน หักหัวคิวไปให้ใคร ยังเป็นปริศนา เพราะยังไม่มีใครกล้าพูดความจริง

Let's block ads! (Why?)



"ที่มา" - Google News
October 02, 2020 at 09:39AM
https://ift.tt/36pMMXi

ความหมาย และที่มาของคำว่า "หักหัวคิว" - ข่าวไทยพีบีเอส
"ที่มา" - Google News
https://ift.tt/2ZXuIAi

No comments:

Post a Comment