นายกราชบัณฑิตยสภา โพสต์เฟซบุ๊กชี้แจง กรณีที่ ได้บัญญัติศัพท์ Big Data ว่า"ข้อมูลมหัต "และมีเสียงวิจารณ์กว้างขวางรวมทั้งนำเอาข้อความที่ไม่ใช่ศัพท์บัญญัติมาล้อเลียนหลายคำ
ศ.นพ.สุรพล อิสระไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา ได้โพสต์คำชี้แจงผ่าน เฟซบุ๊กที่ชื่อว่า "Surapol Issaragrisil" กรณีที่ได้บัญญัติศัพท์ใหม่คำว่า Big Data แปลว่า ข้อมูลมหทัต ว่า
สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้เผยแพร่การบัญญัติศัพท์ของคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สถิติศาสตร์ คำว่า Big data ว่า ข้อมูลมหัต ทำให้มีผู้แสดงตวามคิดเห็นกันอย่างมากมาย ผมเห็นว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีและเป็นโอกาสที่จะชี้แจงให้สาธารณชนได้ทราบวิธีการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา
1. มาตรา 8 วงเล็บ 6 ของพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2558 ให้สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีอำนาจหน้าที่ ดําเนินงานเกี่ยวกับการจัดทําพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทําพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศ เป็นภาษาไทยและงานวิชาการอื่น ๆ
2.นายกราชบัณฑิตยสภาแต่งตั้งคณะกรรมการในแต่ละสาขาวิชาประกอบด้วยภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าว
3. ในการบัญญัติศัพท์ เลขานุการของคณะกรรมการจะต้องศึกษามาก่อนว่า คำที่จะบัญญัตินั้นมีศัพท์บัญญัติโดยคณะกรรมการสาขาอื่นแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่มีจึงดำเนินการบัญญัติได้ แต่ถ้าเคยมีบัญญัติโดยคณะกรรมการสาขาอื่นมาก่อนแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณาว่าศัพท์บัญญัตินั้นจะใช้ได้กับสาขาของเราได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็สามารถบัญญัติใหม่ได้
4. หากคำที่บัญญัติมีที่ใช้ในหลายสาขา หรือหลายสาขาบัญญัติศัพท์แล้วไม่ตรงกัน จะนำมาพิจารณาในคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชาและที่จำเป็นเร่งด่วน เพื่อหาข้อสรุป หากหาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ อาจใช้ศัพท์บัญญัติหลายคำได้ เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้ ซึ่งท้ายที่สุดจะเหลือเฉพาะคำที่ใช้กันแพร่หลายเท่านั้น
5. ในการบัญญัติศัพท์ ใช้แนวทางของพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน โดยเลือกใช้คำไทยก่อนคำบาลีหรือสันสกฤต หลีกเลี่ยงการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยไม่จำเป็น
6.ศัพท์ที่บัญญัติแล้วจะนำไปเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ทางหน้าเฟสบุคของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ก่อนที่จะตีพิมพ์ต่อไป
ศัพท์บัญญัติของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดทำโดยคณะกรรมการวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิของแต่ละสาขาวิชา อาจถูกใจหรีอไม่ถูกใจท่านบ้าง ศัพท์บัญญัติที่ไม่เป็นที่นิยมก็จะหายไปเอง คงเหลือแต่ศัพท์บัญญัติที่ใช้กันแพร่หลายเท่านั้น อย่างไรก็ตามเราจะทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ราชบัณฑิตยสภาแนะควรเขียน"นิวนอร์มอล" ทับศัพท์สื่อความหมายดีกว่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากคำว่า Big data แล้ว ราชบัณฑิตยสภา ยังได้บัญญัติคำศัพท์ใหม่อีกหลายคำ ได้แก่
TWITTER = สําเนียงสกุณา
BIG DATA = ข้อมูลมหัต
SOCIALIZATION = สังคมประกิต
INTUITION = อัชฌัชติกญาณ
INNATE IDEA = สชาติกมโนภาพ
HERMENEUTICS = อรรถปริวรรต
AGNOSTICISM = อไญยะนิยม
ACTION = กัตตุภาวะ
CATEGORY = ปทารกะ
SYLLOGISM = ปรัตถานุมาน
CLASSICISM = ศึกษิตนิยม
"ที่มา" - Google News
June 28, 2020 at 07:38AM
https://ift.tt/2B6DvpT
"ราชบัณฑิตยสภา" ชี้แจงที่มาบัญญัติ Big Data แปลว่า "ข้อมูลมหัต" - ฐานเศรษฐกิจ
"ที่มา" - Google News
https://ift.tt/2ZXuIAi
No comments:
Post a Comment