เมื่อวันที่ 25 ส.ค. นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงกรณีที่องค์การอนามัยโลกออกมาเตือนว่าประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกกำลังจะเผชิญการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า ตอนนี้สถานการณ์ที่ทวีปอเมริกาหนักสุด ในระยะ 3-5 วันมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 1 ล้านคน และจะเป็นเช่นนี้ไปอีกระยะ เฉพาะสหรัฐอเมริกามีการติดเชื้อในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี ถึง 135% เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 1 พันคน ที่บราซิลมีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นและยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ส่วนเอเชียพบว่าประเทศอินเดียอยู่ในช่วงขาขึ้น มีผู้ป่วยรายใหม่วันละกว่า 7 หมื่นคน ขณะที่เกาหลีใต้ก็เริ่มการระบาดระลอกใหม่ ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการให้ทุกคนสวมหน้ากากตลอดเวลาทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ทั้งพื้นที่โล่งและภายในห้อง ต้องเว้นระยะห่าง
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า จะเห็นว่าการติดเชื้อระลอกใหม่ ในหลายๆ ประเทศมีความรุนแรงกว่ารอบแรก หลายประเทศไม่รู้แหล่งที่มา อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศ เช่น เยอรมัน สิงคโปร์ และเวียดนามที่อาจจะเกิดจากแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง และอยู่รวมกันหนาแน่น ไม่เว้นระยะห่าง บางประเทศ เช่นจันรับเชื้อเข้ามาจากพัสดุ ดังนั้น แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะควบคุมการระบาดได้ดี และยังไม่พบการติดเชื้อในประเทศ แต่อย่าคิดว่าปลอดภัยแน่นอน เพราะเพื่อนบ้านยังมีการติดเชื้ออยู่ การเดินทางข้ามพรมแดน รวมถึงการนำพัสดุต่างๆ เข้ามายังประเทศอาจจะนำการติดเชื้อเข้ามาได้
และเมื่อดูจากเหตุผลที่องค์การอนามัยโลกเตือนว่าเอเชียแปซิฟิกเข้าสู่การระบาดระลอก 2 โดยใช้ข้อมูลสถานการณ์ทั่วโลก ที่พบว่ายังมีความรุนแรงอยู่ โดยเพราะหลักฐานที่พบว่ามีการติดเชื้อในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี โดยในญี่ปุ่นพบได้ 2 ใน 3 ขณะที่ ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย พบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมีอายุน้อยกว่า 40 ความสำคัญคือการติดเชื้อในคนอายุน้อยมักมีอาการไม่รุนแรงจึงเสี่ยงที่จะนำไปแพร่ให้กับผู้สูงอายุ และคนมีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่รับเชื้อแล้วอาการจะรุนแรง และเสียชีวิตได้ ซึ่งถ้าดูสถานการณ์ในไทยตอนนี้หลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ก็พบว่าคนที่มีการออกไปทำกิจกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่ก็เป็นกุ่มที่อายุน้อยกว่า 40 ปี เช่นเดียวกัน
ศ.นพ.ประสิทธิ กล่าวว่า ทั้งนี้ ตนมองว่าประเทศไทยมีโอกาสเกิดการแพร่ระบาดอีก แต่ต้องควบคุมให้ได้เพื่อให้เศรษฐกิจก็ยังเดินหน้าต่อไปได้ ดังนั้นทุกคนต้องช่วยกันสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ เป็นต้น เพราะเราไม่อยากให้เหมือนการระบาดรอบแรกที่ต้องปิดล็อคทั้งประเทศ
ดังนั้นการควบคุมโรคต้องยึดหลักการควบคุมมุ่งเป้า (Targeted Intervention) ซึ่งในหลายๆ ประเทศก็นำมาใช้ เพราะก่อให้เกิดผลกระทบ เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่มาก ประชาชนก็เลยไม่เครียดมาก แต่วิธีนี้ต้องทำงานร่วมกัน 3 ฝ่าย คือฝ่ายปกครอง ที่ออกนโยบายต่างๆ ฝ่ายผู้ประกอบการนำเอามาตรการไปใช้ และประชาชนต้องร่วมกันปฏิบัติตามมาตรการ
หากพบผู้ติดเชื้อในกิจกรรมใดก็ต้องดูว่ากิจกรรมแบบเดียวกันในแต่ละที่มีผู้ติดเชื้อด้วยหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่ามาตรการโดยรวมมีปัญหาผู้กำหนดนโยบายต้องมาทบทวน แต่ถ้ากิจกรรม หรือสถานที่แบบเดียวกัน เกิดการติดเชื้อเพียงแห่งเดียวแสดงว่าสถานที่ หรือกิจกรรมนั้นมีปัญหาเรื่องมาตรการควบคุมป้องกันโรค ก็ต้องปิดและปรับปรุงแก้ไข และใช้มาตรการทางสังคมในการดูแลจัดการ หากพบว่าสถานประกอบการ กิจกรรมใดที่ไม่มีมาตรการควบคุมป้องกันโรค ก็อย่าเข้าไปใช้
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือคนไทยต้องร่วมกันเช็คอิน เช็คเอาท์แอพพลิเคชั่นไทยชนะด้วย ซึ่งขณะนี้พบว่าบางร้านค้า บางแห่งที่ตนเคยไปใช้บริการก็ไม่มีแอพฯ นี้ ที่หนักคือบางร้านที่เคยมีก็เอาออก เพราะเราชะล่าใจเกินไป หากเกิดการติดเชื้อเราจะลำบากในการสอบสวนโรค ดังนั้นขอวอนให้ติดตั้ง แต่ขอให้ช่วยกันเช็คอิน เช็คเอาท์
“หากเราร่วมกัน และทำได้ จะทำให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตที่ปลอดภัยจากโควิด ดีที่สุดคือแค่มีการติดเชื้อแต่ไม่แพร่ระบาด ซึ่ง 2 คนนี้ ต่างกัน หมายความว่าถ้าเรามีคนติดเชื้อ 1-2 คน แต่เข้าไปควบคุมให้เร็วไม่ให้ระบาดได้ ส่วนคำว่าระบาดหมายถึงมีการติดเชื้อ 1 คน แพร่ไปสู่อีกคน หรือ 10 คน 30 คน ต่อๆ ไป เพราะฉะนั้นขอความร่วมมือจากทุกคน เช็คอิน เอาท์ อย่ายอมให้เกิดการหย่อนมาตรการ และอย่าให้มีการยกเว้น ทุกคนมีโอกาสพลาดที่จะทำให้เกิดการระบาดในไทย หรือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การควบคุมโรคเป็นไปด้วยดี” ศ.นพ.ประสิทธิ กล่าว.
"ที่มา" - Google News
August 25, 2020 at 12:32PM
https://ift.tt/34vidhZ
โควิดเสี่ยงรอบ2!!ไม่รู้ที่มา-เข้าเมืองผิดก.ม.-การรับพัสดุ - เดลีนีวส์
"ที่มา" - Google News
https://ift.tt/2ZXuIAi
No comments:
Post a Comment