Pages

Monday, August 24, 2020

เรือดำน้ำจีน : กองทัพเรือแจง 6 เหตุผลทำไมต้องซื้อเรือดำน้ำ - บีบีซีไทย

kerisasakti.blogspot.com

thai news pix

นายทหารระดับสูงของกองทัพเรือ (ทร.) ตั้งโต๊ะแถลงชี้แจงความจำเป็นในการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีน ภายหลังที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ไอซีที รัฐวิสาหกิจและทุนหมุนเวียนของคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 สภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบงบประมาณของกองทัพเรือในรายการจัดซื้อเรือดำน้ำจำนวน 2 ลำ จากจีน วงเงิน 22,500 ล้านบาท โดยชี้ว่าเป็นโครงการจัดซื้อต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2560 และเป็นการทยอยจ่ายโดยใช้เวลาทั้งสิ้น 7 ปี จนสิ้นสุดปีงบประมาณ 2570

การแถลงชี้แจงซึ่งนำโดย พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รองเสนาธิการเรือ ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ จัดขึ้นที่อาคารราชนาวิกสภา สามวันภายหลังจากอนุกรรมาธิการฯ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 5 คน จากพรรคพลังประชารัฐ ภูมิใจไทย และประชาธิปัตย์ ลงมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ท่ามกลางกระแสวิจารณ์ถึงความจำเป็นในการใช้จ่ายงบประมาณ ในขณะที่ประเทศกำลังประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจอันสืบเนื่องมาจากการระบาดของโรคโควิด-19

"เราไม่ได้พูดถึงวิกฤตโควิดในแง่เศรษฐกิจ แต่เรามองถึงในอนาคตอีก 7 ปี 10 ปี ข้างหน้าว่าเศรษฐกิจของเราเป็นยังไง เราจะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้อย่างไร ซึ่งกำลังรบทางเรือก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะเสริมสร้างได้...ในเรื่องความมั่นคง ในเรื่องความสุขของประชาชน จริง ๆ ก็โลกเดียวกัน มันก็ต้องบาลานซ์กันไป" พล.ร.ต.อรรถพล เพชรฉาย ผอ.สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ตอบคำถามสื่อหลังการชี้แจง

ตลอดการแถลงข่าวนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือหลายคน ตั้งแต่เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ เสนาธิการ ไปจนถึงเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ย้ำหลายครั้งว่า การออกมาเปิดเผยข้อมูลของอนุกรรมาธิการจากพรรคการเมืองหนึ่ง เป็นการหวังผลทางการเมืองเพื่อให้สะเทือนรัฐบาล

"การที่มีผู้กล่าวหาว่ามีการดำเนินการไม่ถูกต้องถือว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงและใส่ร้ายกองทัพเรือ" พล.ร.อ. สิทธิพร มาศเกษม เสนาธิการทหารเรือ กล่าว

พล.ร.ท. ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รองเสนาธิการทหารเรือ สายงานกิจการพลเรือน ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ กล่าวว่ากรณีที่นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.พรรคเพื่อไทย เปิดเผยเอกสารลับที่นำมาจากคณะอนุ กมธ.เป็นการพูดที่บิดเบือนจากความเป็นจริง้สรางความเสียหายให้กับส่วนรวม ก่อให้เกิดความเกลียดชังต่อกองทัพซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เขายังปฏิเสธข้อกล่าวหาจาก ส.ส.เพื่อไทยว่า การจัดซื้อที่ใช้วิธีแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือจีทูจีมีความถูกต้องโปร่งใส ไม่เหมือนกับกรณีโครงการรับจำนำข้าวในสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย

"การซื้อแบบจีทูจีโดยพรรคเพื่อไทยอย่างเช่นกรณีจำนำข้าวอันนั้นสิ่ครับ เก๊ และเป็นการซื้อแบบจีทูจีที่ไม่ถูกต้อง แต่กองทัพเรือได้ทำการซื้อแบบจีทูจีอย่างโปร่งใส" โฆษกกองทัพเรือ ระบุ

บีบีซีไทยรวบรวมคำชี้แจงจากกองทัพเรือถึงการจัดซื้อเรือดำน้ำที่ผูกพันงบประมาณแผ่นดินยาวนาน 7 ปี

ทำไมต้องเสียงบฯ 22,500 ล้านบาท ซื้อเรือดำน้ำ

พล.ร.ท.ธีรกุล กาญจนะ ปลัดบัญชีทหารเรือ กล่าวว่าการจัดหาเรือดำน้ำ 2 ลำ ด้วยวงเงิน 22,500 บาท เป็นการจัดหาต่อเนื่องจากการซื้อลำแรกเมื่อปีงบประมาณ 2560 ซึ่งมีการทยอยจ่ายไปบ้างแล้วระหว่างปี 2560-2566

การจัดหารอบนี้เป็นรายการในการเสริมสร้างกำลังกองทัพที่ผูกพันงบประมาณเริ่มใหม่ในปี 2563-2569 และเป็นการทยอยตั้งงบประมาณ รายปี ตามปีงบประมาณที่ กองทัพเรือได้รับปกติ มิได้เป็นการขอรับงบประมาณเพิ่มเติม เนื่องจากมีการตราไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 แล้ว

ในระหว่างการแถลงข่าว กองทัพเรือได้ฉายสไลด์ชี้แจงวงเงิน 22,500 ล้านบาท ที่ถูกซอยออกเป็นงบประมาณรายปีในการซื้อเรือดำน้ำ ปีละตั้งแต่ 2,500-3,925 ล้านบาท ไปจนถึงปีงบประมาณ 2570

ปลัดบัญชีทหารเรือ กล่าวอีกว่า กองทัพเรือได้ลดการจัดหายุทธปกรณ์หลักที่ผูกพันข้ามปีลง เพื่อจัดหาเรือดำน้ำ ทั้งในปีนี้และปีต่อ ๆ ไป เพื่อให้มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ โดยในปี 2564 มีการตั้งงบฯ จัดหาเรือลากจูงขนาดกลาง จำนวน 1 ลำ มูลค่ากว่า 73 ล้านบาท

ทำไมต้องมีเรือดำน้ำ ?

เนื้อหาส่วนใหญ่ของการชี้แจงเน้นหนักไปที่ประเด็นที่ว่าเหตุใดประเทศไทยจึงต้องมีเรือดำน้ำ พล.ร.ท.เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ กล่าวว่าความตึงเครียดในทะเลจีนใต้ที่มีหลายชาติประกาศความเป็นเจ้าของบนหมู่เกาะสแปรตลีย์ อันอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปะทะในทะเล เขากล่าวว่า ทะเลจีนใต้เป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศไทย หากเกิดการปะทะ จะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทยที่มูลค่าราว 24 ล้านล้านบาท จึงเป็นความจำเป็นที่ทัพเรือต้องมีกองกำลังที่เข้มแข็งเพื่อคุ้มครองเส้นทางเข้าออกของการประมง

"ผมขอยืนยันว่าผลประโยชน์ของชาติ กองทัพเรือจัดซื้อลำที่ 2 และ 3 วงเงิน 22,500 ล้านบาท ชำระในปี 64 จำนวน 3,925 ล้านบาท เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของชาติ 24 ล้านล้านบาท คิดเป็น 0.093% เท่านั้น"

ทร

เป็นการซื้อแบบรัฐต่อรัฐอย่างถูกต้องหรือไม่

การจัดหาเรือดำน้ำจากจีนจำนวน 3 ลำนี้ ผ่านความเห็นชอบจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2558 ในสมัยที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นรัฐบาล

ประเด็นการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐว่ามีความถูกต้องหรือส่อจะเป็นโมฆะหรือไม่ ถูกเปิดขึ้นมาโดย นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) ครุภัณฑ์ ไอซีที รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน ซึ่งได้นำเอกสารสัญญาที่ลงนามโดย พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ เสนาธิการทหารเรือ ที่ ทร.นำมาชี้แจงในคณะอนุ กมธ.ว่า "ไม่มีการลงนามของรัฐบาลจีน มีเพียงบริษัทเอกชนเท่านั้น แล้วจะเป็นการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี ได้อย่างไร รวมทั้งยังพบข้อสังเกตของผู้ลงนามในสัญญาฝ่ายไทยด้วย ซึ่งอาจทำให้สัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ"

นาวาเอก ธาดาวุธ ทัตพิทักษ์กุล รอง ผอ.สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ชี้แจงกรณีนี้ด้วยการฉายสไลด์เอกสารการมอบอำนาจในการลงนามในข้อตกลงของรัฐบาลไทย ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 เม.ย.2560 โดยอนุมัติให้ ผบ.ทร.ในขณะนั้น เป็นผู้แทนไปลงนามระหว่างรัฐบาล หลังจากนั้น ผบ.ทร. ได้มอบอำนาจให้ พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ในฐานะประธานกรรมการโครงการจัดหาเรือดำน้ำ และเสนาธิการ ทร.ในขณะนั้น เป็นผู้แทน ผบ.ทร.ไปลงนามในข้อตกลง

ส่วนข้อกล่าวหาว่าไปลงนามกับเอกชนมิใช่รัฐบาลนั้น มีคำชี้แจงว่า อู่ต่อเรือของจีนที่ชื่อว่า CSOC ได้รับมอบอำนาจจากหน่วยงานของรัฐบาลด้านการบริหารงานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและส่งออกอาวุธ (SASTIND) เป็นผู้แทนรัฐบาลมาลงนามในสัญญากับไทย

"คนที่มาลงนามในนามของ CSOC ได้รับมอบอำนาจอย่างชัดเจน อันนี้คือจีทูจีของจริง ไม่ใช่จีทูจีของปลอม ยืนยันว่ากองทัพเรือไม่เคยพูดเท็จกับประชาชน"

ทร

เป็นห่วงของแถม ? ต้องเสียค่าปรับหรือไม่ถ้าไม่ซื้อ

พล.ร.ต.อรรถพล เพชรฉาย ผอ.สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ระบุว่าหากไทยไม่ซื้อเรือดำน้ำสองลำ ก็ไม่มีเงื่อนไขใดที่ผูกไว้ว่ารัฐบาลไทยต้องเสียค่าปรับ

มีคำชี้แจงอีกว่า การเจรจาของระหว่างไทยและจีนอยู่บนพื้นฐานของการจัดหาเรือดำน้ำ 3 ลำมาโดยตลอด และรัฐบาลจีนได้รับทราบการจัดหาเป็นระยะ ผลการเจรจาในการจัดการระยะที่สอง จีนตกลงขายให้ลำละ 11,250 ล้านบาท ซึ่งมีราคาต่อลำถูกกว่าลำที่ 1 ซึ่งขายให้ไทย 12,000 ล้านบาท แต่ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม ได้แก่ แผ่นยางลดเสียงสะท้อน ระบบสื่อสารดาวเทียม ระบบสื่อสารข้อมูลทางยุทธวิธี และอาวุธ ได้แก่ จรวดนำวิถี ทุ่นระเบิด และตอร์ปิโด

สัญญาการจัดหาราคานี้จะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.ที่จะถึง

ผอ.สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ระบุอีกว่า "ถ้าไม่ได้จัดหาในรอบนี้ที่เจรจาก็เป็นศูนย์หมด" หากต้องเริ่มกระบวนการใหม่ ประกอบกับการถูกทำให้เป็นประเด็นทางการเมือง ต่อไปราคาซื้อขายอาจเปลี่ยนแปลงและกระทบความน่าเชื่อถือในเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศ

ด้านเจ้ากรมยุทธการทหารเรือ มีความเห็นกรณีนี้ว่า "เราไม่ได้หวังของแถม แต่แถมมาได้เรายินดีรับ"

ประเทศไทยมีเรือดำน้ำลำเดียวไม่ได้หรือ ?

ผอ.สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องมีเรือดำน้ำมากกว่าหนึ่งลำว่าเพราะเป็นยุทธศาสตร์ในการจัดวางกองกำลังทางทะเล

"มันเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ สิ่งสำคัญที่สุดคือการที่ไม่รู้ว่ามันอยู่ไหน ถ้ามีอยู่ลำเดียว ไปเห็นอยู่ตรงไหนจุดหนึ่ง ทั้งทะเลไทยฝั่งอันดามัน ฝั่งอ่าวไทย หมดความน่ากลัวไปทันทีเลย ในขณะที่ถ้ามี 3 ลำ จับพลัดจับผลู มีภัยสงคราม บังเอิญมีจังหวะเรือซ่อม ก็อาจมีเรือซ่อมอยู่ลำหนึ่ง แต่อีกสองลำล่ะอยู่ตรงไหน ใครจะกล้าเข้ามาหรือไม่ในท้องทะเลนี้ ใครจะเสี่ยงไหม"

ประเทศกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรคโควิด-19 การซื้อเรือดำน้ำในเวลานี้มีความจำเป็นจริงหรือ

นายทหาร ทร.ชี้แจงว่า จากวิกฤตโรคระบาดตั้งแต่ต้นปี กองทัพเรือได้ตกลงคืนงบประมาณในส่วนปีงบประมาณ 2563 กว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงงบประมาณ ที่ใช้จัดหาเรือดำน้ำคืนให้แก่รัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาโรคโควิด-19 โดยถือว่า "เป็นการชะลอโครงการเพื่อนำไปรวมงบประมาณส่วนอื่น ๆ ที่กองทัพเรือสามารถปรับลดลงได้"

"หน่วยงานไหนล่ะครับ ที่คืนเงินเป็นหน่วยแรกถึง 4 พันกว่าล้านบาท" พล.ร.ท. ธีรกุล กาญจนะ ปลัดบัญชีทหารเรือ กล่าวและเสริมว่าเมื่อการระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายไปแล้ว กองทัพเรือจึงพิจารณาเดินหน้ากระบวนการจัดหาอีกครั้ง

ส่วนเจ้ากรมยุทธการทหารเรือ กล่าวถึงความจำเป็นระหว่างการมีเรือดำน้ำกับเรื่องทางเศรษฐกิจว่าเกี่ยวกับการคุ้มครองผลประโยชน์ทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นเรือประมง และแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมกลางอ่าวไทย

"ถ้าความมั่นคงในทะเลไม่เกิด เรือประมงขายปลาต่างชาติไม่ได้ เรือประมงต่างชาติ เช่น เวียดนาม ลักลอบเข้ามาในน่านน้ำไทยจำนวนเท่าไหร่ เราเสียประโยชน์หรือไม่"

สุพล ฟองงาม ส.ส.พลังประชารัฐ แจงต้องลงมติชี้ขาดตามข้อบังคับ ชี้เหตุผล ทร.ฟังขึ้น

นายสุพล ฟองงาม ประธานคณะอนุกรรมาธิการครุภัณฑ์ ไอซีที รัฐวิสาหกิจ และทุนหมุนเวียน ในคณะกรรมาธิการงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2564 สภาผู้แทนราษฎร เปิดห้องอนุกรรมาธิการชี้แจงในวันนี้ (24 ส.ค.) ว่า กรรมาธิการตัดสินใจด้วยความยากลำบาก และพร้อมรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ

supol

นายสุพลชี้แจงถึงการลงมติชี้ขาดการอนุมัติงบประมาณ หลังที่ประชุมมีมติเห็นชอบ 4:4 เสียงว่า ในฐานะประธานการประชุม ตามข้อบังคับของการประชุม เขาจำเป็นจะต้องลงมติชี้ขาด หากมติมีเสียงเท่ากัน และเขาก็เป็นพรรคร่วมรัฐบาล จึงจำเป็นต้องตัดสินใจลงมติเห็นชอบ

"ผมรับผิดชอบต่อสิ่งที่ผมตัดสินใจทั้งหมด กองทัพเรือเขาก็มีเหตุผล เราต้องฟังเขาด้วย ไม่ใช่ปั่นทุกเรื่องให้เป็นเรื่องการเมืองทั้งหมด มันจะอยู่กันอย่างนี้เหรอ...กระบวนการตัดสินใจ มันยังเหลืออีก มันไม่ใช่ว่านายสุพล ฟองงามชี้ขาดแล้วจะไปจัดซื้อเรือ (ดำน้ำ) มันอยู่ที่ชุดใหญ่อีก มันอยู่ที่สภา และที่สำคัญอยู่ที่รัฐบาลด้วย ถ้ารัฐบาลเห็นว่าไม่เหมาะสม ถ้าเห็นว่าเรื่องนี้จะไปเติมเชื้อไฟที่ทำให้เกิดม็อบเต็มบ้านเต็มเมืองก็อาจจะถอยก็ได้ สภาฯ อาจจะถอยก็ได้ อันนี้เป็นความเห็น เป็นมติเบื้องต้นเท่านั้นเอง" เขาระบุ

Let's block ads! (Why?)



"ที่มา" - Google News
August 24, 2020 at 07:50PM
https://ift.tt/3hCIeQd

เรือดำน้ำจีน : กองทัพเรือแจง 6 เหตุผลทำไมต้องซื้อเรือดำน้ำ - บีบีซีไทย
"ที่มา" - Google News
https://ift.tt/2ZXuIAi

No comments:

Post a Comment